ทวีปยุโรป ของ คลื่นความเย็นในทวีปยุโรป พ.ศ. 2555

สภาพอากาศหนาวเย็นคุกคามยุโรปต่อเนื่อง และยอดผู้เสียชีวิตพุ่งเป็นกว่า 550[2] รายนับจากปลายเดือน ม.ค. ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 โดยที่แม่น้ำดานูบกลายเป็นน้ำแข็งและในหลายประเทศประกาศห้ามใช้เดินเรืออย่างเด็ดขาด[3]โดยเจ้าหน้าที่การท่าเรือของเบลเกรด ยูโกสลาเวีย เปิดเผยในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ว่า แพน้ำแข็งที่มีความหนาประมาณ 1.7 ฟุตได้ปกคลุมแม่น้ำดานูบเป็นระยะทางยาวหลายร้อยกิโลเมตร จากความยาวทั้งหมด 1,780 กิโลเมตร โดยครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 6 ประเทศ จากทั้งหมด 9 ประเทศที่แม่น้ำนี้ไหลผ่าน และส่งผลให้เรือจำนวนมากติดอยู่ตามท่าเรือต่าง ๆ ของแม่น้ำสายที่มีความจอแจที่สุดในยุโรปสายนี้[4]

ประเทศเอสโตเนีย

ประเทศเอสโตเนียต่างแถลงในสัปดาห์เดียวกันว่าพบเหยื่ออากาศหนาวรายแรกของประเทศ โดยในเอสโตเนีย พบชายคนหนึ่งนอนหนาวตายบนถนนในเมืองทาลลินน์ ส่วนที่ฝรั่งเศส ชายวัย 82 ปี เสียชีวิตจากภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำในหมู่บ้านเลมแบร์ก ทางเหนือของประเทศ

ประเทศมอนเตเนโกร

มอนเตเนโกรประกาศภาวะฉุกเฉินหลังหิมะปิดกั้นถนนและทางรถไฟเกือบทั่วประเทศ โดยมีผู้เสียชีวิตแล้ว 3 คน ส่วนประชาชนกว่า 50 คนต้องติดค้างอยู่บนขบวนรถไฟทางตอนเหนือมานานกว่า 2 วันแล้ว ท่ามกลางความพยายามเข้าไปช่วยเหลือของหน่วยกู้ภัย

ประเทศฝรั่งเศส

ในฝรั่งเศส ด้วยสภาพอากาศที่หนาวเหน็บทำให้ประชาชนต้องพึ่งระบบทำความร้อนมากขึ้น ดังนั้นจึงคาดหมายว่าในปีนี้ตัวเลขการใช้ไฟฟ้าน่าจะทุบสถิติสูงสุดที่ทำไว้เมื่อปี 2010 ขณะที่เจ้าหน้าที่ต้องร้องขอผู้บริโภคในบางแคว้นให้งดใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างน้อย 4 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อป้องกันปัญหาไฟดับ นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสได้แถลงข่าวผู้เสียชีวิตรายแรกจากอากาศหนาวเช่นกัน โดย เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ มีสถิติปู้เสียชีวิต 6 ราย

ประเทศเนเธอร์แลนด์

เนเธอร์แลนด์ อุณหภูมิก็ลดต่ำลงเหลือเพียง -21 องศาเซลเซียส ซึ่งนับเป็นสถิติที่ต่ำที่สุดในรอบ 27 ปี ส่งผลให้เที่ยวบินหลายสิบเที่ยวที่ลงจอดที่สนามบินนานาชาติชิโพล กรุงอัมสเตอร์ดัม ต้องประสบปัญหาล่าช้า

สหราชอาณาจักร

สภาพอากาศหนาวจัดส่งผลให้สนามบินนานาชาติฮีทโทรว์ กรุงลอนดอน ต้องยกเลิกเที่ยวบินถึง 1300เที่ยวหรือประมาณร้อยละ 30 ในขณะที่การจราจรบนท้องถนนประสบปัญหาอย่างหนัก เนื่องจากมีหิมะกีดขวางบนพื้นผิวการจราจรจนประชาชนสัญจรไปมาได้อย่างยากลำบาก

ประเทศลิทัวเนีย

มีอุณหภูมิติดลบ 31 องศา ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 23 ราย

ประเทศโปแลนด์

ยอดผู้เสียชีวิตในโปแลนด์เพิ่มเป็น 107 ราย จากอุณหภูมิที่ติดลบ 27 องศา และกระทรวงมหาดไทยขอให้ประชาชนตรวจสอบเครื่องทำความอุ่น หลังจากมีบางคนเสียชีวิตเพราะสูดดมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปในระบบหายใจระบบเครื่องทำความอุ่นที่ผิดพลาดจากอากาศหนาวจัด ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้บ้านพักและอพาร์ตเมนต์ของประชาชนโดยมีผู้เสียชีวิตไป 8 ราย

ประเทศคอซอวอ

เกิดหิมะถล่มเข้าใส่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในหุบเขา ทำให้ชาวบ้าน 10 คนติดอยู่ใต้หิมะสูง 10 เมตรหิมะ โดยมีผู้เสียชีวิต 1 ราย[5] กองกำลังรักษาสันติภาพของนาโตส่งเฮลิคอปเตอร์ไปช่วยชาวบ้าน แต่ไม่สามารถลงจอดได้เพราะหมอกหนา

ประเทศโรมาเนีย

โรมาเนียรายงานผู้เสียชีวิต 68 รายนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหม และรัฐมนตรีมหาดไทยบินไปยังแคว้นบูโซ ทางภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก พร้อมเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่เร่งมือเพื่อลำเลียงอาหารทางอากาศไปยังหมู่บ้านบางแห่งที่อาหารกำลังร่อยหรอ

ทางการเจ้าหน้าที่คาดว่าชาวบ้าน 30,000 คนในโรมาเนียยังถูกตัดขาด และอีกกว่า 110,000 คนในประเทศแถบคาบสมุทรบอลข่านก็ถูกตัดขาดเช่นกัน รวมถึง 60,000 คนในมอนเตเนโกร หรือคิดเป็นเกือบ 10% ของประชากรทั้งประเทศ

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ประเทศฮังการี

ฮังการีมีผู้เสียชีวิต 35 ราย

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ประเทศรัสเซีย

โฆษกกระทรวงสาธารณสุขรัสเซียแถลงว่า มีผู้เสียชีวิตจากสภาพอากาศหนาวเย็นในประเทศแล้วอย่างน้อย 110 คนนับตั้งแต่ต้นปี ซึ่งข้อมูลผู้เสียชีวิตดังกล่าวไม่นับรวมเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ขณะที่มีรายงานโรงเรียนหลายแห่งถูกปิด และประชาชนจำนวนมากไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ ท่ามกลางอุณหภูมิหนาวเย็นจัด โดยอุณหภูมิทั่วรัสเซียเมื่อเช้านี้อยู่ที่ระหว่างลบ 22 องศาเซลเซียส-ลบ 33 องศาเซลเซียส[6]

ประเทศอิตาลี

ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 อิตาลีมีผู้เสียชีวิต 17 ราย[7]

ประเทศบัลแกเรีย

หมู่บ้านไบเซอร์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของบัลแกเรีย เขื่อนที่อยู่ใกล้หมู่บ้าน เกิดแตก ทำให้ทั้งหมู่บ้านจมอยู่ใต้น้ำเย็นจัดที่สูงถึง 2.5 เมตร ส่วนอีก 4 คนเสียชีวิตขณะอยู่ในรถยนต์ที่ถูกพัดตกจากสะพาน ลงไปในแม่น้ำ

ประเทศเซอร์เบีย

ด้านกรุงเบลเกรด เมืองหลวงเซอร์เบีย ดำเนินมาตรการจำกัดการใช้ไฟฟ้าเพราะไฟฟ้าทำท่าจะขาดแคลน โดยได้มีการขอร้องบริษัทต่างๆ ให้ลดกิจกรรมลงให้เหลือน้อยที่สุด ทั้งยังประกาศให้วันศุกร์ที่ผ่านมา (10 ก.พ.) เป็นวันที่ไม่ต้องทำงาน เพิ่มเติมจากวันหยุดเนื่องในวันชาติเมื่อวันพุธและพฤหัสบดี (8-9 ก.พ.) มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 20 รายโดยนักเศรษฐศาสตร์ระบุว่าสภาพอากาศที่หนาวเย็นอาจทำให้เซอร์เบียมีความเสียหายคิดเป็นมูลค่ากว่า 500 ล้านยูโร หรือราว 2 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้อุตสาหกรรมกว่า 2,000 แห่งต้องหยุดชะงักและต้องสั่งปิดโรงเรียนทั้งหมดไปจนถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์นี้ โดยพายุหิมะยังคงพัดถล่มเซอร์เบียทำให้ถนนหนทางต่างๆถูกปิดและการจราจรบนทางหลวงหลักก็เคลื่อนตัวได้อย่างช้าๆ[8]วันที่ 20กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 น้ำแข็งที่ละลายในแม่น้ำบูลดานูบได้ละลายเป็นก้อนจำนวนมหาศาลส่งผลให้น้ำแข็งเคลื่อนที่ไปตามกระแสน้ำและกระแทกสร้างความเสียหายกับเรือรวมถึงวัตถุอื่น ๆ และสายน้ำที่เกิดจากภาวะน้ำแข็งละลายได้ซัดให้เรือหลายลำเคลื่อนกระแทกกันก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ[9]

แหล่งที่มา

WikiPedia: คลื่นความเย็นในทวีปยุโรป พ.ศ. 2555 http://daily.bangkokbiznews.com/detail/44331 http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.in.com/news/current-affairs/cold-snap-i... http://www.nationchannel.com/main/news/foreign/201... http://www.nationchannel.com/main/news/foreign/201... http://www.nationchannel.com/main/news/foreign/201... http://www.nationchannel.com/main/news/foreign/201... http://www.nationchannel.com/main/news/foreign/201... http://www.nationchannel.com/main/news/foreign/201... http://www.suthichaiyoon.com/detail/22499